PROACTIVE LEARNER

Proactive Learner

สู่ความเป็น "นักเรียนรู้เชิงรุก"

  

“ความสามารถในวันนี้อาจทำให้คุณเป็นคนเก่ง
แต่ความสามารถในการเรียนรู้จะทำให้คุณเป็นคนที่เก่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

________________________________________

 

โปรแกรมนี้ตอบโจทย์อะไร (Why you needs this program)

 

องค์กรของคุณมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่

  • คนเก่งบางคนหยุดพัฒนาตนเองไปอย่างน่าเสียดาย
  • องค์กรจัดเตรียมหลักสูตรไว้ให้มากมายแต่แทบไม่มีใครสนใจมาเรียน
  • องค์กรไม่ค่อยมีเวลาจัดการเรียนรู้อย่างเป็นทางการจะดีมากถ้าคนทำงานเรียนรู้กันเองในหน้างานได้
  • พนักงานเข้าใหม่พัฒนาตนเองช้ากว่าจะทำงานได้
  • องค์กรมีงบประมาณจำกัดในการพัฒนาคน
  • หัวหน้าพร้อมสอนแต่ลูกน้องไม่ค่อยพร้อมเรียน
  • เรียนทุกอย่างแต่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

 

ในโลกที่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราเริ่มเห็นปรากฏการณ์อันน่าเศร้าที่คนทำงานที่เคยมีคุณค่าในอดีต กลับเริ่มปรับตัวไม่ทัน และเริ่มมีพื้นที่ในการสร้างคุณค่าน้อยลงเรื่อยๆ เกิดเป็นความทุกข์ทั้งกับเจ้าตัว รวมถึงองค์กรหรือคนรอบข้างที่ต้องทำงานประสานด้วย และก็ไม่เพียงกับคนทำงานกลุ่มนี้เท่านั้น แม้แต่คนรุ่นกลางหรือรุ่นใหม่ที่เข้ามาพร้อมทักษะความสามารถบางอย่าง หากเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาเริ่ม “หยุดอยู่กับที่” การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจวิ่งแซง ทำให้ทักษะความสามารถของพวกเขานั้นล้าสมัยไปได้รวดเร็วกว่าที่จะทันตั้งตัว ในทำนองเดียวกัน ในแง่ขององค์กรเอง ความสามารถในการเรียนรู้และการปรับตัว (Learn and Adopt) ของสมาชิกคือสิ่งที่กลายเป็นมาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน องค์กรใดที่มีสัดส่วนของสมาชิกที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ และมีความสามารถของนักเรียนรู้เชิงรุกอยู่เป็นจำนวนมาก องค์กรนั้นย่อมมีความได้เปรียบในโลกของการแข่งขัน

 

แต่การจะพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของคนในองค์กรนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย หลายครั้งที่องค์กรทุ่มเทเวลาและทรัพยากรหาเรื่องราว หาองค์ความรู้ต่างๆ มาให้พนักงานของตนได้เรียนรู้ แต่ผลกลับออกมาอย่างไม่น่าพอใจนัก หลายครั้ง องค์กรพยายามบอกเล่าถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเรียนรู้ แต่ก็ได้ผลเพียงกระตุ้นความตื่นตัวในช่วงสั้นๆ นี่หมายความว่าเพียงสิ่งเหล่านี้อาจจะยังไม่เพียงพอ เพื่อจะปลุกความสามารถในการเรียนรู้ของผู้คนให้ตื่นขึ้น เราอาจต้องเข้าไปทำงานกับอุปสรรคที่ทำให้ผู้คนไม่กล้าก้าวออกจากจุดเดิม เราอาจต้องสร้างประสบการณ์ที่ทำให้พวกเขาตระหนักถึงความสามารถในการเรียนรู้ของตัวเอง ตลอดจนประสบการณ์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าการเรียนรู้นั้นคือความสนุก ท้าทาย เป็นประสบการณ์ที่มาพร้อมกับความภาคภูมิใจ ก่อนที่จะบอกให้พวกเขา “เรียนอะไร” เราอาจต้องกระตุ้นให้พวกเขารู้สึก “อยากที่จะเรียน” เสียก่อน

 

จากพื้นฐานความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนมี “คุณค่า” และมนุษย์ทุกคนล้วนมี “ศักยภาพในการเรียนรู้” อยู่แล้วในตัวเอง ทำให้เกิดเป็นคำถามสำคัญว่า “เราจะสามารถปลุกศักยภาพการเรียนรู้นี้ให้ตื่นขึ้นได้อย่างไร” และ “ทำอย่างไรผู้คนของเราจะกล้าที่จะก้าวออกจากกรอบเดิม เพื่อค้นหาวิธีการใหม่ในการสร้างคุณค่า” โปรแกรม Proactive Learner คือโปรแกรมที่มุ่งเน้นการตอบคำถามนี้ผ่านเรื่องราวสำคัญ อันได้แก่ ความเข้าใจทางสมองกับความสามารถในการเรียนรู้, อุปสรรค 4 ประการที่ขัดขวางการเรียนรู้, ทักษะ 5 ประการสำหรับ Proactive Learner, การสร้างสรรค์คุณค่าผ่านแนวทาง Playwork รวมถึงการออกแบบระบบนิเวศน์ (ecosystem) ในองค์กรที่จะสนับสนุนให้การเรียนรู้ของสมาชิกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    

 

 วัตถุประสงค์ ความตั้งใจของโปรแกรมนี้

 

  • ผู้เรียนเกิดกรอบคิดเติบโตและพร้อมเรียนรู้ (Growth mindset)
  • ผู้เรียนค้นพบอุปสรรคที่เข้ามาขัดขวางการเรียนรู้ของตนเอง และสามารถนำพาตัวเองเข้าสู่สภาวะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดได้ (Optimum Learning State)
  • ผู้เรียนสามารถนำบทเรียนไปต่อยอดเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับทีมหรือองค์กรได้ รวมถึงการรับสัญญาณและอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกได้ (Sense & Respond)
  • ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะสำคัญในการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ เช่น ทักษะการฟัง การทบทวนตัวเอง การตั้งเป้าหมายโดยใช้คุณค่าเป็นตัวตั้ง เป็นต้น

 

สิ่งที่จะได้เรียนรู้จากโปรแกรมนี้ (Learning Point)

 

“Proactive Learner” หรือ นักเรียนรู้เชิงรุก ที่เราเน้น มีสองจุดสำคัญที่เราเน้นในโปรแกรมนี้ คือ 1. การดูแลจัดการตนเอง (Self-Management) 2. การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ผ่านการเรียนรู้ คิดและลงมือทำ ที่สามารถสร้างคุณค่าหรือผลลัพธ์ที่วิเศษ  โดยกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่ออกแบบ จะใช้แนวคิดของ 4 STEP OF PLAYWORK และเน้นการฝึกฝน 5 ทักษะสำคัญของการเป็นนักเรียนรู้เชิงรุก (Essential Skills for Proactive Learner) 

  • Proactive Learner คือใคร (ที่มาของแนวคิดและความสำคัญ)
  • กรอบคิดสองแบบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ Fixed Mindset  VS Growth Mindset
  • พัฒนาการของ 3 ช่องทางการเรียนรู้ ความละเอียดของการรับข้อมูล ความสามารถในการคิดตกผลึก และการลงมือทำด้วยความตั้งใจ
  • ทักษะ 5 ประการของการเป็นนักเรียนรู้เชิงรุก
  • การทบทวนตัวเอง (Self-Reflection) ทักษะสำคัญเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • เคล็ดลับในการฟังเชิงลึก (Deep listening) และการจับประเด็น
  • การดูแลอารมณ์และความพร้อมของตัวเอง (Resilience)
  • การตั้งเป้าหมายโดยใช้คุณค่าเป็นตัวตั้ง (Values Creation)
  • กรอบคิดของความเป็นนักทดลอง เปิดรับความผิดพลาด แต่ทำด้วยความตั้งใจ (Growth Mindset)
  • อุปสรรค 4 แบบที่ขัดขวางการเรียนรู้
  • เทคนิคการเข้าถึงสภาวะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด Optimum Learning State
  • เทคนิคในการรับฟีดแบ็คเพื่อการพัฒนาตัวเอง
  • ออกแบบวงจรการเรียนรู้ของตัวเองด้วยวงจรเรียนรู้ – คิด – ทำ
  • สร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าในแบบฉบับของตัวเองผ่านแนวทาง Playwork

 

 

 

สนใจหลักสูตร หรือ งานที่ปรึกษา ติดต่อเราได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Contact Excellent People (google.com)

หรือ ติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์  080-4594542  (ออ ณรัญญา)
ID Line : aornarunya

 

 

 

Visitors: 152,779