DIALOGUE FACILITATION FOR MANAGEMENT
Dialogue Facilitation for Management
ศิลปะการนำการสนทนาเพื่อการพัฒนาองค์กร สำหรับผู้บริหาร
“ ไดอะล็อก คือ วิถีการพูดคุยที่มีความหมาย และก่อเกิดสิ่งใหม่ๆ ให้เราทุกคนได้เรียนรู้และเติบโตร่วมกันเสมอ”
_____________________________________________
โปรแกรมนี้ตอบโจทย์อะไร (Why you needs this program)
การสนทนา พูดคุย ถือเป็นกระบวนการสำคัญในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการร่วมคิด ร่วมค้นหาวิถีทาง คำตอบใหม่ๆ ร่วมกัน ถือเป็นพื้นที่ที่สำคัญของในการสร้างทีม สร้างความร่วมไม้ร่วมมือ (Collaboration) และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้ทีมหรือองค์กรเคลื่อนตัวไปข้างหน้า (From Old Things to NewThings) แต่ในชีวิตจริง กลับพบว่า พื้นที่ของการพูดคุย สนทนา หรือที่มักจะเห็นจริงกันบ่อยๆ ก็คือ “การประชุม” (Meeting) กลับกลาย เป็น ดั่งสมรภูมิรบ ที่ห้ำหั่น กันอย่างดุเดือด เพื่อเอาชนะกันทางความคิด หรืออีกภาพที่เห็นกันชินตา คือ การพูดคุยที่เป็นพิธีกรรม ที่ต่างคนต่างมารายงานผล มาทำหน้าที่ให้จบๆไปตามบท ที่วางไว้ ส่งผลให้ความรู้สึกที่มีในการเข้ามาพบเจอกันในที่ประชุมต่างๆ กลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ และ “เสียเวลา” ที่สุดในมุมมองของคนทำงาน
ด้วยโลกธุรกิจที่แข่งขันกันเข้มข้น ดุเดือด และการเปลี่ยนแปลงที่พุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทางรอดที่องค์กรจะอยู่ได้ ก็ต้องสามารถรับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและร่วมกันตอบสนองให้ทันการณ์ (Sense & Respond) ทุกคนจะต้องช่วยกันพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Change) มีความร่วมแรงร่วมใจ (Collaboration) และทำงานอย่างคล่องตัว (Agility) มากขึ้น องค์กรจะต้องเรียนรู้และปรับตัวอยู่เสมอ (Learn and Adopt) ซึ่งเครื่องมือหรือกระบวนการที่สำคัญมากกับองค์กร ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงก็คือ การสนทนา พูดคุยกันที่มีคุณภาพ (Matter Conversation) โดยผู้นำจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาท มาทำหน้าที่ “ฟา” (Facilitator) ที่สามารถสร้างบรรยากาศและกระบวนการพูดคุยให้กลับมามีพลังและเกิดความสร้างสรรค์ ให้ทุกคนหันหน้าเข้าหากัน กล้าเปิดใจพูดคุย แสดงความคิดเห็น นำความจริงมาพูดคุยกันได้ในระดับลึก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาที่เคลื่อนตัวต่อไปอย่างต่อเนื่อง ยิ่งคุยยิ่งใกล้ ยิ่งเข้าใจและสร้างพลังให้แก่กัน
ไดอะล็อก (Dialogue) คือ แนวคิดและแนวทางที่สำคัญอันเป็นพื้นฐานของการสนทนา ที่สร้างความเข้าใจ เป็นวิถีการพูดคุยที่ก่อประกอบไอเดียและทางออกใหม่ๆ ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ วิถีนี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรต่างๆ อย่างแพร่หลาย เป็นกระบวนการและทักษะที่สำคัญที่ผู้นำยุคใหม่ จำเป็นจะต้องมีและฝึกฝน เพื่อให้สามารถนำการพูดคุย สนทนาของทีม ให้เกิดคุณภาพสูงสุด เป็นเสมือนเคล็ดวิชาสำคัญ ที่จะช่วยสร้างทีมที่แข็งแรง ที่มีการเรียนรู้และเติบโตอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ ความตั้งใจของโปรแกรมนี้
- ให้ผู้เรียน ได้ตระหนักรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการสื่อสาร สนทนาแบบไดอะล็อก กับการบริหาร พัฒนาองค์กร ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง
ให้ผู้เรียนทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงของการสนทนา พูดคุย ประชุมกันในมิติใหม่ ที่พูดคุย สนทนาในวิถีไดอะล็อก ให้เห็นถึงรายละเอียดและผลที่เกิดขึ้นของไดอะล็อก- ฝึกฝนและติดตั้งทักษะสำคัญของการเป็นทั้งสมาชิกของวงสนทนา และการทำหน้าที่ Facilitator ในการนำวงสนทนาที่ทำให้เกิดพลังของการคิดร่วม การเรียนรู้กันของกลุ่ม อย่างมีส่วนร่วม สามารถพูดคุยกันในเรื่องยากๆ ที่มีความท้าทายให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกันได้
- ได้ฝึกฝนการออกแบบและประยุกต์นำ “แก่น” ที่สำคัญของ “ไดอะล็อก” ไปประยุกต์ ต่อยอดใช้กับกิจกรรมการสนทนา พูดคุยที่องค์กรและทีมมีอยู่แล้ว ยกระดับให้การพูดคุยให้เกิดประโยชน์และช่วยสร้างพื้นที่ที่ทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกันอย่างแท้จริง
- บ่มเพาะวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ร่วมกัน และออกแบบระบบนิเวศในที่ทำงาน ให้ช่วยสนับสนุนการพูดคุย สนทนาในวิถีไดอะล็อก ให้เกิดขึ้นจริงและช่วยสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กร
สิ่งที่จะได้เรียนรู้จากโปรแกรมนี้ (Learning Point)
โปรแกรมนี้เน้น 3 ส่วนสำคัญ ในการฝึกฝน โดยเริ่มจากการฝึกฝนทักษะพื้นฐานของการพูดคุย สนทนาในวิถีไดอะล็อกให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์จริงผ่านการลงมือทำร่วมกัน และส่วนที่ 2 จะเน้นการติดตั้ง ถ่ายทอดวิชาของการทำหน้าที่ “ฟา” ให้สมาชิก สามารถนำพาการพูดคุยให้เกิดการเรียนรู้และการคิดร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์ ส่วนสุดท้าย จะชวนทุกคนมาออกแบบและพัฒนากิจกรรมการพูดคุยสนทนาที่มีอยู่ในองค์กร ให้มีความเป็น Dialogue Culture มากขึ้น เพื่อให้สิ่งที่เรียนรู้นำไปปรับใช้ยกระดับการทำงานในองค์กรที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้น
- แนวคิดของไดอะล็อก กับการพัฒนาองค์กร ที่สร้างความการมีส่วนร่วมและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Transformational and Continuous Change by Dialogue Intervention)
- ทำไมการนำการสนทนาแบบไดอะล็อก (Dialogue Facilitation) ถึงสำคัญกับการบริหาร (Why We Need Dialogue for Management)
- บทบาทของผู้นำ กับการเป็น “ฟา” (Facilitator) นำการสนทนาที่สำคัญของทีมและองค์กร
- กระบวนการสำคัญในการนำการสนทนาแบบไดอะล็อก (Dialogue Facilitation Process)
- 4 Phase ของคุณภาพการสนทนาตามแนวทางไดอะล็อก ((4 Phase of Dialogue)
- วินัยสำคัญในการสนทนาในวิถีไดอะล็อก (Discipline for Dialogue)
- ทักษะที่สำคัญของการเป็น Facilitator ในการพูดคุย สนทนาแบบไดอะล็อก (Essential Skills for Dialogue Facilitation)
- การสร้างพื้นที่ปลอดภัยและบรรยากาศที่เอื้อต่อการสนทนา (Creating Safe Space and Atmosphere)
- ศิลปะการรับฟังเชิงลึก ตามแนวทางของ Theory U (Active Listening Skills)
- การจับประเด็นและการสะท้อน ให้ข้อสังเกต (Capturing and Reflection Skills)
- การอ่านสัญญาณและบรรยากาศการสนทนาของกลุ่ม (Noticing Group Signal & Observe Skills)
- เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการคิดร่วมของกลุ่ม (Powerful Questioning)
- ศิลปะการพูดในการนำวงไดอะล็อก
- ความสำคัญของการเช็คอิน (Check-in) และเช็คเอ้าท์ (Check-out)
- รูปแบบการสนทนาการตามวิถีไดอะล็อกในแบบแผนต่างๆ เช่น World Café , Open Space , CFR (Conversation-Feedback-Recognition)
- การออกแบบกระบวนการและกิจกรรมการสนทนาบนพื้นฐานของไดอะล็อก เพื่อการพัฒนาองค์กร
- การประยุกต์นำการพูดคุยสนทนาวิถีไดอะล็อกไปใช้การขับเคลื่อนผลงานและพัฒนาองค์กร เช่น การประชุมผู้บริหาร , การ Check-in กับทีมงาน , การประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น , Morning Meeting , CFR ฯลฯ
- แนวทางการสร้างวัฒนธรรมไดอะล็อกให้เกิดขึ้นในองค์กร (Dialogue Culture)
สนใจหลักสูตร หรือ งานที่ปรึกษา ติดต่อเราได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Contact Excellent People (google.com)
หรือ ติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 080-4594542 (ออ ณรัญญา)
ID Line : aornarunya