THE ART OF GIVING FEEDBACK FOR GROWTH
The Art of Giving Feedback For Growth
ศิลปะการให้ฟีดแบ็กที่สร้างการเติบโต
“ Feedback ที่ดีเป็นดั่งการมอบ ....ของขวัญ....
ที่ช่วยสร้างพลังบวก ในการก้าวเดินต่อ
และยังช่วยสานสัมพันธ์ ให้ความวางใจต่อกันแนบแน่นยิ่งขึ้น ”
________________________________________
โปรแกรมนี้ตอบโจทย์อะไร (Why you needs this program)
การให้ฟีดแบ็ค (Giving Feedback) ถือเป็นทักษะสำคัญและหน้าที่ข้อหนึ่งของผู้นำ ที่ต้องช่วยให้ผู้คนในทีมได้ตระหนักรู้และมองเห็นตนเองชัดขึ้น ทั้งความรู้สึก ความต้องการ จุดแข็ง สิ่งที่ทำได้ดี และโอกาสพัฒนาปรับปรุงตน การให้ฟีดแบ็คที่ดีเปรียบได้กับกระจกที่ใสพอ ที่จะช่วยให้พนักงานได้เห็นตนเองที่ชัด ยอมรับและเกิดแรงกระตุ้นในเชิงบวกที่จะพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น
แต่ในความเป็นจริง การให้ฟีดแบ็คที่สร้างสรรค์กลับเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก ดังปัญหาที่องค์กรมักประสบในการสร้างวัฒนธรรมการฟีดแบ็ค มีดังนี้
- หัวหน้างานไม่กล้าให้ Feedback อย่างตรงไปตรงมา เพราะกลัวเสียความสัมพันธ์
- หัวหน้าฟีดแบ็กแบบสื่อสารทางเดียว ไม่เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น บอกสิ่งที่มองเห็นตัวเอง
- ไม่มีการสื่อสารให้ฟีดแบ็กแบบมีชีวิต หัวหน้า Comment เป็นข้อความ แบบฟอร์มส่งมาเท่านั้น ไม่มีการพูดคุยกันจริงหัวหน้างานขาดทักษะการฟีดแบ็ก มักจะพูดตามความเห็นของตน และใช้อารมณ์ หรืออำนาจบีบบังคับให้ยอมรับ
- ขาดความต่อเนื่อง ความถี่ในการทำ บ้างก็คุยกันครึ่งปีครั้ง หรือปีละครั้งเท่านั้น
- เป็นการทำเป็นพิธีแก้บน ทำให้ผ่านๆ เสร็จตามขั้นตอนตามระบบ ไม่สนใจผลลัพธ์ของการพูดคุย
- ยิ่งคุยยิ่งขัดแย้ง เป็นไปในทางลบ อีกฝ่ายไม่เปิดใจยอมรับ ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในทีม
การให้ฟีดแบ็ค (Feedback) เป็นศิลปะที่ผู้นำยุคใหม่ต้องได้รับการฝึกฝน เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่จะช่วยพัฒนาคนแบบก้าวกระโดด รวมถึงการสร้างทีมงาน และวัฒนธรรมในการให้ Feedback ในองค์กร (Feedback Culture) ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง การให้ Feedback ที่สร้างพลัง เป็นเสมือนการ “ให้ของขวัญ” (Positive Feedback) หรือ ให้พร ได้รับแล้วจะมีความหวัง หรือได้รับเชื้อเพลิงในการเดินทางต่อ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการฝึกฝนที่เข้มข้น ไม่เช่นนั้นการให้ฟีดแบ็คจะกลายเป็นการ “ให้ร้าย” (Negative Feedback) ที่ทำให้ห่อเหี่ยว และขาดแรงใจใน
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการบ่มเพาะความเข้าใจเชิงลึกในแก่นที่สำคัญของการให้ฟีดแบ็คและฝึกฝนการให้ Feedback อย่างลุ่มลึกและสร้างพลังบวกสู่การเปลี่ยนแปลง ด้วยเครื่องมือและหลักปฏิบัติที่ผสมผสานองค์ความรู้สำคัญ อาทิ Radical Candor , Positive Psychology Coaching , Non Violent Communication เข้าด้วยกัน ที่จะช่วยให้ผู้นำสามารถกลับไปให้ Feedback ในการนำทีมได้อย่างเกิดผล สร้างพลังบวก สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจกับผู้รับ Feedback ได้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ ความตั้งใจของโปรแกรมนี้
- ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญของกระบวนการ Feedbacks โดยเห็นว่ากระบวนการนี้คือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาทีมและขับเคลื่อนผลงาน
- ผู้เรียนเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ ที่จะนำไปสู่การฟีดแบ็คอย่างสร้างสรรค์ ทั้งจิตวิทยาเพื่อความเข้าใจมนุษย์ ปัจจัยที่จะทำให้คนเปิดใจ ทักษะในการสังเกต ตลอดจนศิลปะในการพูดความจริงโดยไม่เสียความสัมพันธ์
- ผู้เรียนสามารถให้และรับฟีดแบ็คได้จริง โดยใช้ทักษะใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้
- เห็นแนวทาง และสามารถออกแบบกิจกรรมที่จะส่งเสริมวัฒนธรรรมการฟีดแบ็ค (Feedbacks Culture) ให้เกิดขึ้นจริงในทีมหรือองค์กรได้
สิ่งที่จะได้เรียนรู้จากโปรแกรมนี้ (Learning Point)
การให้ฟีดแบ็ก เป็นเรื่อง Sensitive สำหรับผู้ให้ และผู้รับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดของการฝึกฝน ในโปรแกรมนี้ เราจะเตรียมความพร้อมให้ทุกคนทั้งการปรับสภาวะและ Mindset ในการให้และรับ Feedback ก่อนที่ทุกคนจะได้ลองฝึกจริง ในการฟีดแบ็กตัวเอง และการให้ฟีดแบ็ก ระหว่างกัน ซึ่งเราได้นำโจทย์จริงให้เขาได้ลองฝึกฝนกันจริงๆ ร่วมกัน รวมถึงการต่อยอดไปใช้สร้างวัฒนธรรมในองค์กร
- ความสำคัญของการให้ Feedback กับการบริหารผลงานสู่ผลลัพธ์ชั้นเลิศ (Beyond Performance by Feedback)
- ทัศนคติที่ถูกต้องในการเป็นผู้ให้และผู้รับ Feedback (Right Mindset)
- เรียนรู้ความต่าง และศักยภาพเชิงลึกของทีมงาน ผ่านหลักการผู้นำสี่ทิศ
- Radical Candor หัวใจสำคัญของการให้ Feedback เพื่อการพัฒนา
- การประเมินความสัมพันธ์และระดับความไว้วางใจ ก่อนการให้ Feedback (Degree of Trust)
- ขั้นตอนสำคัญในการให้ Feedback เพื่อการพัฒนา (Step of Giving Feedback)
- การสื่อสารเจตนาที่แท้ (Truly Intention) และสิ่งที่เราให้ความสำคัญ เพื่อเปิดประตูใจ
- การสะท้อนใคร่ครวญ ฟีดแบ็คตนเองด้วยกระบวนการ Self Reflection)
- ศิลปะในการพูดถึงเหตุการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้น ที่ทำให้ผู้รับ Feedback เปิดใจ (Giving Observation and Evident)
- การเช็คความเข้าใจ และความสัมพันธ์หลังการให้ Feedback (Connection Request)
- การสร้างข้อตกลงร่วมในการติดตามผล หลังการให้ Feedback เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
- ศิลปะการให้ Feedback เชิงโค้ชชิ่ง เพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา (Coaching for Growth)
- เทคนิคการทำ Challenge Feedback ที่ยกระดับการพัฒนาความสามารถและผลงานอย่างก้าวกระโดด
- หลุมพรางของการให้ Feedback ที่ล้มเหลว
- การสร้างวัฒนธรรมการ Feedback ในองค์กร (Feedback Culture)
สนใจหลักสูตร หรือ งานที่ปรึกษา ติดต่อเราได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Contact Excellent People (google.com)
หรือ ติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 080-4594542 (ออ ณรัญญา)
ID Line : aornarunya