FACILITATIVE LEADERSHIP

 

เป็นภาพฝันของผู้นำองค์กรจำนวนมาก ที่อยากจะเห็น พนักงานได้แสดงศักยภาพ ความเป็นผู้นำในตัวเองออกมาร่วมกันพัฒนาองค์กร  ได้เห็นพวกเขา“อิน” กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจโดยไม่ต้องรอให้ใครสั่ง และร่วมไม้ร่วมมือกันในการทำงานที่สนุก  ซึ่งภาพฝันนี้ เป็นภาพของ “ทีมจัดการตัวเอง” (Self-Management Team) หรือที่ได้ยินกันบ่อยมากขึ้นกับคำว่า Agile Team ในบ้านเรา ถือว่าใกล้เคียงกัน   มีงานวิจัยศึกษา ทีมหรือองค์กรจัดการตัวเองในรอบโลก พบว่า ทีมหรือองค์กรแนวนี้ สามารถสร้างผลผลิต หรือ Productivity มากขึ้น 30% การที่พนักงานทุกคนสามารถนำความเป็นผู้นำในตนเอง(Self-Leadership) ออกมาร่วมกันสร้างสรรค์งานโดยได้รับอิสระและความไว้วางใจให้ลองตัดสินใจกันเอง  ซึ่งรากฐานความเชื่อของการสร้างทีมหรือองค์กรแบบนี้ได้ มาจากความเชื่อและความมั่นใจที่พวกเขามีต่อ “มนุษย์”  องค์กรหรือทีมลักษณะนี้ ผู้นำจะไม่ได้ทำหน้าที่สั่งการ กำกับ ควบคุมแบบที่เราคุ้นเคย

ถ้าเราจะสร้างทีมหรือองค์กร ที่ทุกคนได้จัดการตัวเองและแสดงศักยภาพ ความเป็น ผู้นำในตัวเองออกมาได้  ...ผู้นำของทีมจะต้องเป็นแบบไหน ? “

ผู้นำจะต้องปรับบทบาทมาสู่ .....”ผู้นำแบบคนสวน หรือ Facilitator”  ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา มีความสนใจและพูดถึงบทบาทใหม่ของผู้นำในแบบ Facilitator มากขึ้น  มีการนำเสนอแนวคิด แนวทางการทำงานแบบใหม่ ทั้ง Going Horizontal , Agile , Teal Practice ซึ่งเป็นการทำงานในแนวราบที่เข้ามาเติมเต็มการทำงานแบบเดิม ซึ่งเปิดให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการคิด วางแผน กำหนดทิศทาง และร่วมสร้างผลงาน  โดยผู้นำแบบ Facilitator จริงๆ แล้ว เป็นแนวทาง ภูมิปัญญาของการนำทีมในยุคโบราณที่นำมาใช้ต่อกันมา (คัมภีร์เต๋า) และถูกสนใจอีกครั้งในยุคปัจจุบัน มีการเปรียบเทียบว่าผู้นำแบบนี้เป็นเหมือน “คนสวน” ที่คอยดูแลเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้า ต้นไม้ในสวนให้เติบโต งอกงาม ออกดอกออกผล โดยการจัดสวนให้เกื้อกูลกัน ซึ่งแตกต่างขากผู้นำในแบบเดิมที่เน้นผลลัพธ์ กติกา การควบคุม  ผู้นำแบบฟา จะเน้นทำงานกับ

  • ทำความเข้าใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของสมาชิกแต่ละคน ในทีม พร้อมช่วยให้พวกเขามองเห็นของดีและแรงขับในตัวเองผ่านการสะท้อนและชวนสำรวจ   (Reflection & Empowerment)
  • สร้าง”จุดร่วม และฝันของทีม” ที่มีความชัดเจน เพื่อเป็นแกน หรือ จุดที่ดึงดูดพลังของทีมเข้าด้วยกัน
  • บ่มเพาะทักษะที่สำคัญที่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายของสมาชิก (Build Skills for Confidence)
  • ชวนคิด ชวนคุย ชวนฝัน ชวนลอง ผ่านการสร้างบทสนทนาที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ได้มีแรงใจ มีความอยากที่จะลองทำจริงๆ  (Encourage , Inspire and Engage People)
  • สร้างโอกาส สร้างสนามให้ทีม ให้สมาชิกได้ลองทำ และเรียนรู้ด้วยกัน โดยคอยสนับสนุนอยู่ข้างๆ (Motivate Actions and Create Experience)
  • สร้างระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่ช่วยเอื้อให้การเรียนรู้และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

 

โปรแกรม Facilitative Leadership  ( Leader as Facilitator)  - The new way to engage , empower , inspire team  เน้นการบ่มเพาะมายด์เซ็ทและทักษะที่สำคัญของการเป็นผู้นำวิถีฟา  โดยบูรณาการหลักความรู้และศิลปะการพัฒนาคน  และเน้นการฝึกฝนเพื่อการนำไปใช้ให้ได้จริงในการนำทีม การดูแลและพัฒนาลูกทีมของตน ให้สามารถดูแลจัดการตนเอง ทั้งในด้านการงาน และชีวิต ได้อย่างสมดุล (Work & Life Balance)   นอกจากนี้  หลักสูตรนี้ยังจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างหัวหน้าทีม กับลูกทีม ให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากยิ่งขึ้นด้วย จากการช่วยเหลือดูแลกัน

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Objectives)  

  1. บ่มเพาะ Mindset และทักษะสำคัญในการ Facilitation ให้กับผู้เรียน เพื่อใช้ในการดูแลและพัฒนาทีมงานให้เติบโต สามารถสร้างคุณค่าที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
  2. สร้างการตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับการเป็นผู้นำในวิถี “ฟา” ที่ช่วยสนับสนุนทีมงานให้แสดงศักยภาพ ความเป็นผู้นำในตัวเองมาช่วยกันสร้างทีม สร้างผลงานและการเรียนรูร่วมกันได้
  3. วางรากฐานของการสร้าง Community  ของผู้นำแนวใหม่ หรือ Change Agent  และ วิถีการสร้างทีมงานและผลงาน ที่นำพาองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยการ Facilitation หรือ การนำทีมแบบมีส่วนร่วม
  4. สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบ"เปิด" ที่เน้นการให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม(อย่างแท้จริง) , เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นการทำงานในแนวราบ (Horizontal) 

 

หัวข้อหลักและจุดเน้นการเรียนรู้ ในโปรแกรมนี้ (Key Learning Points)

โปรแกรมนี้เน้นการฝึกฝนจริงเป็นหลัก โดยแบ่งเป็น การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ในห้องเรียน 4 โมดูล (Learning Workshop) ที่ครอบคลุมการทำหน้าที่ของผู้นำแบบฟา (Leader as Facilitator)

  • Module1 : หัวใจและทักษะสำคัญของ Leader as Facilitator กับการสร้างทีมจัดการตัวเองและทีมแห่งการเรียนรู้ (The Essential of Facilitative Leadership)
  • Module2 : ศิลปะการสร้างบทสนทนาและพื้นที่การเรียนรู้ สร้างสรรค์งานร่วมกัน  (The Art of Creating Empower Conversations and Creative Learning Space)  
  • Module3 : ศิลปะการคลี่คลายความขัดแย้งและสร้างร่วมมืออย่างสร้างสรรค์  (How to Facilitating Creative Conflict and Collaboration at work ) 
  • Module4 : การบริหารผลงานที่หล่อเลี้ยงแรงบันดาลใจ และสร้างระบบนิเวศที่ช่วยให้พนักงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Inspiring Performance Management and Creating Ecosystem Around People's Growth)
สามารถเข้าดูรายละเอียดของแต่ละ Module ได้ด้านล่าง Click ที่ปุ่ม Read more
** โปรแกรมนี้สามารถเลือกเน้น เป็นพิเศษ ในโมดูล 2-4 ได้ (ตัดบอกเรื่องได้) แต่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ Module 1 
Visitors: 150,971