BEYOND PERFORMANCE BY CFR - พัฒนาผลงานและพัฒนาองค์กร ด้วย CFR

โปรแกรมที่จะเน้นการฝึกทักษะการสนทนา ทั้งในบริบทของการประชุมทีมเพื่อคิดร่วมกัน การเข้าร่วมเวทีการเรียนรู้ การพูดคุย 1-1 เพื่อให้และรับฟีดแบค หรือการพูดคุยเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทีมรูปแบบอื่นๆ ในโปรแกรม ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะสำคัญของการเป็นสมาชิกที่สามารถมีส่วนสนับสนุนคุณภาพการพูดคุยของกลุ่ม (Good Contributors) ได้เรียนรู้ทักษะและวินัยสำคัญของการพูดคุยที่มีคุณภาพ ทั้งการฟังเชิงลึก (Deep Listening) การสะท้อนเพื่อสร้างความเข้าใจ (Reflection) การร่วมสร้างบรรยากาศที่เปิดและปลอดภัย (Safe Space for Open Conversation) การจับประเด็น ค้นหาจุดร่วม การดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่การสนทนาที่มีความท้าทาย (Difficult Conversation) ไปจนถึงทักษะในการให้และรับฟีดแบคและการชื่นชม (Feedback & Recognition)

 

ส่วนที่ 1 – สิ่งที่เราจะฝึกฝนกันในประสบการณ์ 3 วัน เราทำอะไรบ้าง?

โปรแกรมนี้จะฝึกฝนทั้งหมด 3 วัน แบบเจอตัว และติดตามผลทาง Zoom อีก 1 ครั้ง

โดยการฝึกฝนทั้ง 3 วัน แบ่งเป็น

 

วันที่ 1 : Experiential Learning สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตร Original

เป็นการสัมผัสประสบการณ์จริงของคลาส Beyond Performance by CFR (Conversation-Feedback-Recognition)  ในฉบับ 1 วัน โดยจะเรียนไป ถอดบทเรียน ไปในแต่ละช่วง เพื่อให้สัมผัสประสบการณ์ทั้งในมุมของการเป็นผู้เข้าร่วม และได้เข้าใจรายละเอียดในมุมของการทำหน้าที่ Facilitator

 

เบรค 1 : Principle to CFR (Conversation-Feedback-Recognition) & Self-CFR Practice

ทำความเข้าใจในความหมาย ที่มา ความสำคัญของ CFR และเริ่มต้นการฝึกทักษะที่สำคัญในการทำ CFR ผ่านโจทย์ที่ช่วยให้ได้ฝึก ทักษะการฟัง การคิดทบทวน ใคร่ครวญ (Deep Listening and Reflection) โดยเบรกนี้จะนำเอา Practice ของ Self-CFR มาให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์จริงไปพร้อมกับการฝึกทักษะ

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • สืบค้นและทบทวนตัวเอง จากคำถามใน Growth Book
  • โจทย์ 4 ข้อในการทบทวน “ฉันคือใคร”
  • ตุ๊กตาขนมปังผิง บอกเล่าความเป็นตัวเรา

 

เบรค 2 : The Art of Asking Skills and One on One CFR Practice

ฝึกฝนทักษะการตั้งคำถาม เพื่อสร้างบทสนทนา การสืบค้น ทบทวน สร้างการตระหนักและต่อยอดความคิด ผ่านคำถาม 4 แบบ และทดลองฝึกฝนจริงในการสนทนาแบบ 1 ต่อ 1 หรือ กลุ่มเล็ก (2 ต่อ 1) โดยผ่านกระบวนการการพูดคุยแบบ 1 on 1 CFR

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • “อะไรอยู่ในนั้น” ฝึกใช้คำถามเพื่อสืบค้น สำรวจข้อมูล
  • คำถามนี้เป็นของเธอ ผ่านการเลือกการ์ดคำถามที่เราเชื่อมโยงจากการฟังเรื่องของเพื่อน
  • One on One CFR เพื่อช่วยเพื่อนทบทวนและต่อยอดเป้าหมายชีวิต

 

เบรค 3 : Psychological Safety and Group CFR

เรียนรู้จิตวิทยาความปลอดภัย แนวทางการสร้าง Creative Space และคุณภาพการสนทนาที่สร้างพลังการเรียนรู้และสร้างสรรค์  พร้อมกับร่วมฝึกฝนการสนทนาแบบกลุ่ม Group CFR ในโจทย์ที่มีความสนใจร่วมกัน ตาม Practice ของการสนทนาแบบ Group CFR

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • โหมดปกป้อง 4 ลักษณะ อุปสรรคต่อการสื่อสารด้วยความเข้าใจ
  • ท่าที การสื่อสารที่ทำลายความร่วมมือ
  • Group CFR  สนทนาค้นหาแนวทางในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยและความไว้วางใจในองค์กร

 

เบรค 4 : Feedback, Recognition & Application

ฝึกฝนทักษะการให้ฟีดแบค และการชื่นชม รวมถึงการประยุกต์ CFR สู่บริบทการทำงานจริง

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • 6 ช่องทางในการชื่นชม
  • Feedback Space

 

วันที่ 2 และ 3 : Facilitation Lab  

ทดลองการปฏิบัติจริงในการนำกระบวนการเรียนรู้ โดย จะแบ่งเป็น 3 ช่วง

ช่วงที่ 1 – Facilitation Technique (2 ชม.)  เรียนรู้ และติวอย่างเข้มข้น ถึงศิลปะการนำกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างการมีส่วนร่วม และการออกแบบประสบการณ์ 

ช่วงที่ 2 – Facilitation Design ( 1 ชั่วโมง)  ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประยุกต์สิ่งที่สนใจเข้ากับงานจริง โดยจะให้แต่ละองค์กรได้ลองนำกระบวนการเรียนรู้ องค์กรละ 1 เบรก

ช่วงที่ 3 – Facilitation Playwork (1.5 วัน) ให้แต่ละองค์กรนำกระบวนการจริง โดยมีให้เพื่อนสมาชิกและทีมพี่เลี้ยง เข้าร่วม ทีมละ 1.5 ชั่วโมง พร้อมรับคำแนะนำ และฟีดแบ็กเพิ่มเติม

หลังจบกิจกรรม 3 วัน เราจะมีการติดตามผลอีก 1 ครั้ง (ทุกคนสามารถสอบถาม ปรึกษา ทีมพี่เลี้ยงได้เป็นระยะ) ผ่านทาง Zoom Meeting โดยจะกลับมาเจอกันหลังเว้นไป 1 เดือน   


 

ส่วนที่ 2 –โครงสร้างของหลักสูตรที่เราฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ในการสอน หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กร (Course Outline)

 

“ กระบวนการสนทนาที่มีคุณภาพ ที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง เรียนรู้และพัฒนาที่ไม่รู้จบ”

 

หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

กระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทำเอาองค์กรต่างๆ ปรับตัวแทบไม่ทัน ใครที่ตกเทรนด์ตามไม่ทันความเป็นไปของโลกย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่จะถูก Disrupt ได้ง่ายๆ ซ้ำแนวคิดที่เคยสร้างความยั่งยืน เคยใช้ได้ผลในอดีตก็กลับกลายเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลกับยุคสมัยปัจจุบัน จากที่เราเคยวางแผน ตั้งเป้าผลงานแบบเป็นรายปี หรือ 3-5 ปี ตอนนี้ เรากลับต้องเริ่มปรับมามองเป้าหมายสั้นๆ ที่ยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น

เมื่อลักษณะการตั้งเป้าหมายเปลี่ยนไป กระบวนการบริหารผลงาน (Performance Management) ย่อมต้องเปลี่ยนตามไปด้วย จากเดิมที่ทำกันเป็นรายปี เน้นที่การมองผลลัพธ์สุดท้ายปลายทาง คล้ายการแจกโจทย์ให้คนทำงานแต่ละคนไปในช่วงต้นปี แล้วค่อยกลับมาเจอกันอีกทีตอนปลายปีเพื่อประเมินว่าใครบ้างที่วิ่งถึงเส้นชัย และใครบ้างที่ไม่ถึง ตอนนี้ ด้วยโลกที่เปลี่ยนไป องค์กรอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมคิด และปรับตัวให้ทัน แนวทางการบริหารผลงานจึงต้องเน้นไปที่ “การพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Performance Management)” ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้คนทำงานเกิดการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่ทำงานสำเร็จเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีประสบการณ์และมีความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นด้วย รวมถึงเป็นกระบวนการที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่มีพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดความร่วมไม้ร่วมมือ ช่วยกันมอง ช่วยกันคิดเพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนากลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ตลอดจนสนับสนุนกันในด้านของขวัญกำลังใจในการฝ่าฟันความท้าทายไปสู่เป้าหมาย

หัวใจสำคัญของการบริหารผลงานที่มีความต่อเนื่องซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นั้น จำเป็นจะต้องใช้ “การพูดคุยสนทนาที่มีคุณภาพ และสม่ำเสมอ” การพูดคุยที่มีคุณภาพที่เพียงพอจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และไอเดียในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งกระบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า CFR (Conversation , Feedback ,Recognition) กระบวนการอันเรียบง่ายแต่ทรงพลัง ซึ่งประกอบไปด้วย การสนทนาที่มีคุณภาพ (GREAT Conversation) ,  การให้ฟีดแบ็กเพื่อการพัฒนา (Feed Forward) และ การชื่นชมให้พลังใจ (Recognition)   CFR เป็นกระบวนการที่พัฒนามาจากพูดคุยที่ใช้การบริหารผลงานในทีมกีฬา ซึ่งเป็นต้นแบบกรณีศึกษาสำคัญในการสร้างผลงานที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กระบวนดังกล่าวยังมีการนำหลักทางจิตวิทยา ในแนวทางของไดอะล็อกและโค้ชชิ่งมาปรับใช้ทำให้กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่เป็นการพูดคุยตามที่เข้าใจในแบบเดิม แต่เป็นการพูดคุยสนทนที่มีพลัง เอื้อให้มนุษย์ได้ใช้ศักยภาพที่แท้จริง ใช้ปัญญาร่วม (Collective Wisdom) มาสร้างสรรค์และพัฒนาองค์กรให้เติบโตยิ่งขึ้น

 

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

แกนสำคัญของการประสบการณ์การเรียนรู้ในโปรแกรมนี้ จะเน้นที่ ทักษะสำคัญของการทำ CFR (ตามภาพที่ 1)  และ กระบวนการของการทำ CFR (Conversation-Feedback-Recognition) ซึ่งแบ่งเป็น 3 Practices สำคัญได้แก่  1) Self-CFR การทบทวนและเรียนรู้ตนเอง  2) Group CFR การสนทนาทบทวนผลงานและการเรียนรู้ระดับทีม  และ 3) 1 on 1 CFR การสนทนาแบบตัวต่อตัว เพื่อทบทวนผลงานและมิติอื่นๆที่สัมพันธ์  โดยทั้งหมดถือเป็นทั้งกระบวนการและพื้นที่ที่สำคัญในการทำงานที่ช่วยสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  (Continuous Learning Culture)

 
วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
1.ให้ทุกคนได้เข้าใจในกระบวนการ CFR และตระหนักถึงความสำคัญ รวมถึงประโยชน์ของกระบวนการ
2.ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ และเข้าใจแนวทางปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ต่อยอดกับกิจกรรมที่มีอยู่หรือสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ในองค์กร
3.ช่วยพัฒนา ยกระดับกิจกรรมการสนทนาในองค์กรให้มีคุณภาพของการสื่อสาร ให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4.ให้ CFR เป็นกระบวนการที่สนับสนุนให้ทุกคนกลับมาเป็นเจ้าของงาน (Sense of Ownership) และตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะนำพาตนเองและทีม ไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งใจไว้

 

ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

จุดเน้นในโปรแกรมนี้มีอยู่ทั้งหมดสามส่วน หนึ่ง คือความเข้าใจในเชิงแนวคิดของกระบวนการ CFR การพูดคุยที่ดูเผินๆ อาจเป็นเรื่องเรียบง่าย แต่การจะทำให้การพูดคุยแต่ละครั้งมีคุณภาพ แท้จริงแล้วมีรายละเอียดสำคัญอะไรซ่อนอยู่บ้าง สอง คือการฝึกปฏิบัติทักษะสำคัญต่างๆ ทั้งในฐานะสมาชิก และผู้นำการสนทนา และสาม คือการออกแบบ และปรับประยุกต์ให้ CFR สามารถนำไปใช้ได้ในบริบทขององค์กรจริงได้ โดยหัวข้อการเรียนรู้ต่างๆ จะมีดังต่อไปนี้

 

ส่วนที่ 1 : Principle to CFR (Conversation –Feedback- Recognition)

  • ความหมายและความสำคัญของการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง กับโลกยุคปัจจุบัน
  • CFR คืออะไร ทำไมถึงองค์กรต้องการ CFR (Conversation - Feedback - Recognition)
  • CFR แตกต่างกับการสนทนาที่มีอยู่ ขององค์กรอย่างไร ?
  • บทบาทหน้าที่ของผู้นำ กับการสร้างกระบวนการ CFR (CFR Facilitation)
  • GREAT Concept กับกระบวนการ CFR
  • CFR กับการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง , การสร้างนวัตกรรม , การสร้างวัฒนธรรม และการเรียนรู้

 

ส่วนที่ 2 : The Essential Skills for CFR (Conversation –Feedback- Recognition)

  • 4 เฟส กับการสนทนาที่มีคุณภาพ
  • วินัยสำคัญในการสนทนาที่มีคุณภาพ (Discipline of GREAT Conversation)
  • ทักษะการฟังที่ลึกซึ้ง และการสะท้อน (Deep Listening & Reflection Skills)
  • ฝึกฝนการตระหนักรู้และการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)
  • ศิลปะการให้ฟีดแบ็กที่สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนา (Art of Giving Feedback for Growth)
  • การชื่นชม 6 ช่องทาง เพื่อสร้างพลังสู่การเติบโต (Recognition)

 

ส่วนที่ 3  CFR in Practices

  • กระบวนการสำคัญของ CFR (Core Process of CFR)
  • การตั้งโจทย์และสร้างกิจกรรม Check-in และ Check-out ที่ทรงพลัง
  • เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการสร้างสรรค์
  • ศิลปะการดูแลความเห็นต่าง และสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงกับความขัดแย้ง ให้เป็นการคิดร่วมที่สร้างสรรค์ (Creative Conflict Facilitation)
  • การติดตั้งกิจกรรม CFR ในการบริหารผลงานจริงในองค์กร ได้แก่ การนำ CFR ไปใช้ในการสนทนาแบบกลุ่ม/ทีม  Group Conversation , การโค้ชแบบ 1-1 Coaching และกิจกรรม Self Reflection หัวใจสำคัญของ CFR
  • หัวใจสำคัญที่ทำให้ CFR เกิดผล และ หลุมพรางที่ทำให้ CFR ล้มเหลว
  • ตัวอย่างเคส องค์กรที่ใช้ CFR จนเกิดผลจริงในองค์กร
  • การออกแบบกระบวนการ CFR ให้เหมาะกับบริบทองค์กรของตน
  • ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ประกอบกับ CFR เช่น Growth Book , Performance Check-in , Collaboration Board

 

 

ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • มายด์เซ็ทใหม่ในการเรียนรู้และพูดคุย สนทนากัน
  • ทักษะสำคัญในการสนทนา ได้แก่ การตั้งคำถาม การรับฟัง การสะท้อน การสร้างความไว้วางใจ การสีงเกตบรรยากาศ และการดูแลความมั่นคงภายในตัวเอง
  • ทักษะการสนทนาตามแนวทาง CFR
  • ความเข้าใจในกระบวนการสนทนาที่สร้างสรรค์ (Creative Conversation)
  • การประยุกต์การ CFR กับการบริหารผลงาน การสร้างทีมและวัฒนธรรม การเรียนรู้ของทีม การสร้างนวัตกรรม (CFR in Practice)

 

 

 

 

 

 

Visitors: 159,840