Culture Leader

THE ART OF FACILITATING AND CULTIVATING  ORGANIZATIONAL CULTURE

“ ผู้นำ คือ ต้นแบบ แหล่งพลัง และผู้สร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยหล่อเลี้ยง

ปลูกวัฒนธรรม วิถีการทำงานที่ทั้งหมดปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกัน ตามคุณค่าร่วม  ”

 

 

หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

“คำว่าวัฒนธรรม (culture) มีรากศัพท์มาจากคำว่า cultura ในภาษาละติน หมายถึง การเพาะปลูกหรือการบ่มเพาะ ซึ่งมักใช้อ้างอิงถึงการดูแลดิน”

ในโลกการทำงานยุคปัจจุบัน องค์กรต่างๆ เริ่มหันมาให้ความสนใจกับเรื่องวัฒนธรรมและค่านิยม (Culture & Core Values) โดยเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลโดยตรงทั้งต่อผลลัพธ์ บรรยากาศในการทำงาน รวมถึงความสุข และการเติบโตของสมาชิก พวกเขาเชื่อว่าหากองค์กรสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เติบโตงอกงาม ผลลัพธ์ต่างๆ จะตามมาเองโดยไม่ต้องอาศัยแรงบังคับจากคนระดับผู้นำเช่นที่เคยเป็น เพราะสมาชิกต่างตระหนักและรู้สึกมีส่วนร่วมกับสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญ สามารถตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆ ได้โดยมีค่านิยมเป็นแกน รวมถึงมีวิถีการทำงานร่วมกันที่สร้างสรรค์ อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ก็เป็นจริงในทางตรงข้ามด้วย ดังที่กูรูนักบริหารชื่อดังชื่อ Peter Drucker ได้กล่าวเอาไว้ว่า “วัฒนธรรมกินกลยุทธ์เป็นอาหารเช้า (Culture eats strategy for breakfast)” สื่อถึงการที่แม้องค์กรจะมีการวางแผนกลยุทธ์เพื่อไปสู่ผลลัพธ์ได้ดีเพียงใด แต่หากวัฒนธรรมองค์กรไม่สนับสนุน องค์กรนั้นก็มีโอกาสมากที่จะพบเจอกับความล้มเหลว

นี่ทำให้องค์กรหลายแห่งเริ่มหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการกำหนดและปลูกฝังวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรให้กับสมาชิก หลายองค์กรมีการนำค่านิยมไปใช้ตั้งแต่การสัมภาษณ์และคัดเลือกสมาชิกใหม่ (Recruit & Selection) เพื่อให้ได้คนที่มีความเชื่อ การให้คุณค่าที่คล้ายคลึงกันเข้ามาในองค์กร องค์กรหลายแห่งมีการจัดกิจกรรมปลูกฝังค่านิยมและวิถีปฏิบัติในองค์กรให้กับสมาชิกใหม่อย่างจริงจังตั้งแต่ในช่วง Onboarding ไปจนถึงการพัฒนาผู้นำ (Leadership Development) ที่นอกจากจะให้ความสำคัญกับเรื่องเชิงทักษะความสามารถแล้ว องค์กรเหล่านี้ก็เริ่มหันมาพัฒนาผู้นำของพวกเขาในมิติของวัฒนธรรมและค่านิยมด้วย

อย่างไรก็ตาม การทำงานปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อยู่ลึกลงไปภายในจิตใจของผู้คน ซึ่งไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้จากแรงภายนอก เราไม่สามารถ “บังคับ” ให้คนยึดถือคุณค่าแบบเดียวกันได้ และไม่สามารถ “สั่ง” ให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เรามองเรื่องการเปลี่ยนแปลงระยะยาว (การเปลี่ยนแปลงระยะสั้นอาจเกิดได้จากการใช้อำนาจบังคับ หรือการออกแบบระบบจูงใจต่างๆ ) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่อยู่ในมิติที่ลึกลงไปเหล่านี้ ต้องอาศัยผู้นำที่เป็นต้นแบบทางวัฒนธรรม (Culture Leader) ที่จะเป็นเหมือนผู้เผยแพร่ค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ที่จะนำพาองค์กรไปสู่อนาคต พร้อมกับกระบวนการอีกรูปแบบที่เปลี่ยนจากการ “ปลูกฝัง (สื่อถึงการใส่สิ่งใหม่ลงไป)” เป็นการ “ปลุก (สื่อถึงความเชื่อที่ว่าสมาชิกแต่ละคนล้วนมีค่านิยมเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงต้องการการกระตุ้นให้ตื่นขึ้น)” สิ่งเหล่านี้ให้ตื่นขึ้น เกิดผลเป็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง

 

ผู้นำผู้สร้างวัฒนธรรมหรือที่เราเรียกว่า Culture Leader คือองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้วัฒนธรรมใหม่ที่พึงปรารถนาสามารถเกิดขึ้นได้ หน้าที่ของพวกเขา นอกจากการทำตัวเป็นต้นแบบ และการสื่อสารค่านิยมและวัฒนธรรมให้กับสมาชิกแล้ว สิ่งที่พวกเขาทำ ยังประกอบไปด้วย

1. การทำให้สมาชิกได้มองเห็นคุณค่าของตัวเอง เพื่อให้พวกเขาสามารถดึงความเป็นผู้นำภายในตัวเองมาใช้ได้อย่างเต็มเปี่ยม (Self-Leadership) และยังเป็นขั้นตอนสำคัญของการเปิดใจรับค่านิยมองค์กร และวัฒนธรรมใหม่ด้วย “คนเราจะเปิดใจยอมรับ พร้อมเปลี่ยนแปลง เมื่อพวกเขารู้สึกว่าคนอื่นมองเห็นคุณค่าของเขา และเขาสามารถเป็นตัวของตัวเองได้”

2. การสร้างจุดร่วมภายในทีม เพื่อให้ทีมมี “แกน” คุณค่าที่ยึดถือในการทำงานร่วมกัน รวมถึงความรู้สึกถึงเป้าหมายร่วมที่จะขับเคลื่อนทีมทั้งทีมไปข้างหน้าอย่างมีพลัง

3. เป็นผู้นำเข้าสู่ประสบการณ์การทำงานด้วยความตระหนักรู้ การสร้างผลงานกับการสร้างวัฒนธรรมไม่ใช่สองเรื่องที่แยกขาดออกจากกัน ภาพที่ดีที่สุดคือการที่ทีมทีมหนึ่งสามารถสร้างผลงานโดยมีค่านิยมและวัฒนธรรมเป็นเหมือนเครื่องยนต์ที่คอยขับเคลื่อน หน้าที่ของผู้นำคือการย้ำเตือนให้สมาชิกตระหนักถึงความเชื่อมโยงกันเหล่านี้ และค่อยๆ ทดลองการทำงานร่วมกันในวิถีใหม่ จนเกิดเป็นนิสัยติดตัว

4. สร้างบทสนทนาที่เอื้อต่อการทบทวน ค่านิยมและวัฒนธรรมจะเติบโตเมื่อทีมมีโอกาสได้กลับมาสังเกต ทบทวนตัวเองโดยเทียบกับค่านิยมและวัฒนธรรมอย่างสม่ำเสมอ พื้นที่ของบทสนทนาเช่นนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้นำผู้สร้างวัฒนธรรมคือคนที่จะเป็นผู้สร้างบรรยากาศ เชื้อเชิญให้สมาชิกได้หยุด สังเกต ทบทวน และหาทางไปต่อร่วมกันถึงความเป็นไปได้ในการบ่มเพาะให้สิ่งเหล่านี้เติบโตงอกงามในตัวพวกเขา และในการทำงานร่วมกัน

ในโปรแกรม Culture Leader ผู้เข้าร่วมจะได้ผ่านประสบการณ์และการเรียนรู้หลัก 3 ส่วน ได้แก่ หนึ่ง กระบวนการปลูกฝังค่านิยม (Core-Values Alignment & Cultivation) ที่เน้นการมีส่วนร่วม สอง คือการออกแบบค่านิยมและวัฒนธรรมในภาคปฏิบัติ (Culture Design) ด้วยคำถามที่ว่าค่านิยมที่องค์กรกำหนดขึ้น เมื่อไปอยู่ในสถานการณ์จริงในการทำงานแล้ว เราจะเห็นภาพการทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร มีพฤติกรรมอะไรที่จะเป็นไกด์ไลน์ให้สมาชิกได้บ้าง และสาม คือการเรียนรู้ทักษะและแก่นสำคัญของการเป็นผู้นำแห่งการสร้างวัฒนธรรม (Culture Leader Essentials) เพื่อนำไปขยายผลต่อในอนาคต

 

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

แกนสำคัญของการประสบการณ์การเรียนรู้ในโปรแกรมนี้ จะถูกออกแบบและจัดวางมาจาก 4 Roles of Culture Leader  ซึ่งประกอบด้วย 1. ทำให้สมาชิกเห็นคุณค่าของตัวเอง(Encourage Personal Values)  2. สร้างจุดร่วมในทีม(ฺBuild Connectivity)   3. เป็นผู้นำทีมเข้าสู่ประสบการณ์การทำงานร่วมกัน (Create Experience based-Culture)  4. สร้างบทสนทนาที่เอื้อต่อการทบทวน (Create a Cultivated Conversation)  ซึ่งถือเป็นบทบาทและกระบวนการที่ใช้ในการบ่มเพาะ สร้างวัฒนธรรมของทีมและองค์กร 

 

 
วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
  1. ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร และเกิดความเข้าใจในหลักของการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมแบบแนวราบ
  2. ผู้เรียนได้ผ่านประสบการณ์ตรงของกระบวนการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมแบบแนวราบ ได้ทำความเข้าใจค่านิยมขององค์กร เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม และพร้อมที่จะเป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวต่อไป
  3. ผู้เรียนได้ร่วมกันออกแบบภาพของวัฒนธรรมในภาคปฏิบัติ เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับแนวทางที่จะร่วมกันดูแลบรรยากาศในการทำงาน และสร้างผลงานร่วมกันต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
  4. ผู้เรียนเกิดทักษะที่สำคัญต่อการเป็นผู้นำแห่งการสร้างวัฒนธรรม ทั้งการฟังเชิงลึก การสะท้อน การตั้งคำถาม การสร้างบทสนทนาเพื่อสืบค้นด้านบวก

 

ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

จุดเน้นในโปรแกรมนี้มีอยู่ทั้งหมดสามส่วน หนึ่ง คือความเข้าใจในเชิงแนวคิดของกระบวนการ CFR การพูดคุยที่ดูเผินๆ อาจเป็นเรื่องเรียบง่าย แต่การจะทำให้การพูดคุยแต่ละครั้งมีคุณภาพ แท้จริงแล้วมีรายละเอียดสำคัญอะไรซ่อนอยู่บ้าง สอง คือการฝึกปฏิบัติทักษะสำคัญต่างๆ ทั้งในฐานะสมาชิก และผู้นำการสนทนา และสาม คือการออกแบบ และปรับประยุกต์ให้ CFR สามารถนำไปใช้ได้ในบริบทขององค์กรจริงได้ โดยหัวข้อการเรียนรู้ต่างๆ จะมีดังต่อไปนี้

  • ความหมายและความสำคัญของค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร
  • แนวคิด องค์กร 3 มิติ (3 dimensions of organizations) กับการทำงานกับวัฒนธรรม
  • Vertical Organization vs. Horizontal Organization กับมุมมองในการทำงานกับค่านิยม เราจะสร้างค่านิยมในความเชื่อและมุมมองแบบไหน ?
  • 5 จุดเน้นในกระบวนการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
  • บทบาทสำคัญของผู้นำผู้สร้างวัฒนธรรม (Roles of Culture Leader)  ( 1. ทำให้สมาชิกเห็นคุณค่าของตัวเอง  2. สร้างจุดร่วมในทีม   3. เป็นผู้นำทีมเข้าสู่ประสบการณ์การทำงานร่วมกัน  4. สร้างบทสนทนาที่เอื้อต่อการทบทวน )
  • ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง เพื่อความเข้าใจคนเชิงลึก (People Insights)
  • ความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ สำคัญอย่างไรต่อการส่งเสริมวัฒนธรรม (Psychological Safety
  • กระบวนการหลัก ในการทำงานกับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร   ( 1. Core-Values Discovery  2. Core-Values Alignment  3. Culture Design  4. Culture Cultivation)
  • ทักษะสำคัญของผู้นำแห่งวัฒนธรรม (Culture Leader Essentials)  ได้แก่ ศิลปะแห่งการสร้างการมีส่วนร่วม , การตั้งคำถามเพื่อเชิญชวนให้เกิดการสำรวจ , การฟัง และการสะท้อนกลับ  และการออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานที่สร้างสรรค์
  • แนวทางการขยายผลวัฒนธรรม และค่านิยมสู่การทำงานจริง  เช่น การออกแบบกระบวนการคัดเลือกสัมภาษณ์ และดูแลสมาชิกใหม่ ที่สอดคล้องกับค่านิยม (ISelection and Onboarding Process) , การสื่อสารและสร้างความเข้าใจในค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร , การออกแบบสภาพแวดล้อม วิถีการทำงานที่เอื้อ และส่งเสริมการบ่มเพาะค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร  , การบริหารผลงานและพัฒนาทีม ที่บูรณาการค่านิยม วัฒนธรรมองค์กรเข้าด้วยกัน (Integrated Team Performance Management and Learning based-on core values and culture)

 

ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • มายด์เซ็ทและพลังงานของของความเป็นผู้นำแห่งความร่วมมือ (Participatory Leader)
  • ทักษะสำคัญในการสร้างวัฒนธรรม และสร้างบทสนทนาที่ช่วยบ่มเพาะวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน  ได้แก่ การตั้งคำถาม การรับฟัง การสะท้อน และการสร้างความไว้วางใจ

 

กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)

โปรแกรมนี้ ถูกแบบเป็นโปรแกรม 2 วัน  ที่เน้นการฝึกฝน 
โดยปกติจะมี Option ในการจัดอบรม เป็น 

Option 1 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์  2 วัน 
Option 2 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน พร้อมติดตามผลจำนวน 1-2 ครั้งละ 0.5 วัน
Option 3 - ออกแบบเป็นโปรแกรมพัฒนาต่อเนื่อง  (CLP - Continuous Learning Program)  3 -6 เดือน (ฝึกอบรม + Lab การฝึกต่อเนื่อง เดือนละ 0.5-1 วัน) 3 -6 เดือน (ฝึกอบรม + Lab การฝึกต่อเนื่อง เดือนละ 0.5-1 วัน)

 

 

ติดต่อขอรับคำปรึกษา เพื่อออกแบบ หรือวางแผนการจัดเวิร์คช็อป /หลักสูตร

Click >>  https://www.excellentpeople-th.com/contact-us

 

สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya

 

 

Visitors: 159,796