Design Thinking for Innovation

Sparking Creative Thinking to Enhancing and Creating to New Things

“ จุดประกายความสร้างสรรค์ เติมพลังสู่การสร้างสิ่งใหม่”

 

 

หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Disruption กำลัง เป็นคำที่แพร่หลายอย่างมากในโลกที่ธุรกิจยุคปัจจุบัน หลายธุรกิจให้ความหมายต่อสิ่งนี้ในทางลบ  แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมันเป็นแรงลบสำหรับธุรกิจที่เลือกจะเพิกเฉยหรือต่อต้าน มีเพียงคนที่เปิดกว้างและเตรียมพร้อมยอมรับจะพบว่ามันสร้างประโยชน์มหาศาลต่อธุรกิจของพวกเขาในรูปแบบต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะในสภาวะการแข่งขันในปัจจุบันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมุ่งเน้นการต่อสู้ทางความคิด การพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีแนวคิดที่นอกกรอบจากสิ่งที่เคยชิน พร้อมที่จะลงมือทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม และมีการเสนอความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านที่มีประโยชน์ต่อองค์กรและสามารถใช้งานได้จริง จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะบุคลากรนับเป็นทรัพย์สินสำคัญ (Intellectual Capital) ในการเป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

หลักสูตรนี้จึงได้ออกแบบขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เข้าอบรมให้เข้าใจความสำคัญและแก่นหัวใจหลักของกระบวนการ Design Thinking ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่ใช้ในการทำความเข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง โดยมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ก่อนใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองที่หลากหลายมาสร้างไอเดีย หรือแนวทางการแก้ไข เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้น ๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกคิด ฝึกนำ และนำเสนอไอเดียจริงได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยเน้นการลงมือใน 3 แก่น คือ เข้าใจสิ่งที่กำลังจะทำและตั้งสมมติฐาน (Understand) การออกไอเดียเพื่อทำแบบจำลอง (Ideate) และเอาไปทดสอบ (Test)กับคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราจริง ๆ เพื่อสามารถนำไปสู่การหาผลลัพธ์ และนำไปใช้ในงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

แกนสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ในโปรแกรม เราจะใช้หลักความรู้ของ Design Thinking ที่โด่งดังจาก David Kelley และผนวกกับกระบวนการสร้างนวัตกรรมผ่านชุดความคิด กระบวนการสร้างนวัตกรรมที่เป็นไปได้โดยโมเดล Thing - New - Value โดย ดร.วีรรินยาอร เหลืองบริบูรณ์  ซึ่งนอกจากหลักความรู้ทั้งสองที่เราใช้เป็นแกนของการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้เชิงโค้ชชิ่ง  ยังมีเครื่องมือที่เรานำมาใช้ช่วยสร้างนวัตกรรมด้วย Design Thinking ที่เข้าใจง่ายด้วย Creative Toolbox  ด้วย 

 

 
วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
  1. รู้เทคนิคการพัฒนานวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ให้ตรงใจลูกค้าด้วย Design Thinking Process
  2. รู้กลยุทธ์แนวคิดสร้างจินตนาการมุมมองกว้างไกลเหนือผู้อื่น รวมทั้ง Workshop ที่จะทำให้ระดมไอเดียสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมได้ในปริมาณมาก ๆ ในเวลาจำกัด
  3. ฝึกฝนเทคนิคแนวคิดเชิงนวัตกรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานเพื่อการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์การทำงานใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 
ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

โปรแกรมนี้จะเน้นการสร้างความเข้าใจและทักษะ ผ่านการลงมือปฏิบัติ แล้วถอดบทเรียน โดยจะเน้น 4 ส่วนสำคัญของการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้  ได้แก่   1. ความเข้าใจพื้นฐานในนวัตกรรมและการมีมายด์เซ็ทรองรับที่ส่งเสริม 2. การเรียนรู้ความต้องการ ทรัพยากร จิตวิทยาเกี่ยวกับมมนุษย์ เพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม  3. ความเข้าใจในกระบวนการ Design Thinking  และ 4. การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจในภาคปฏิบัติ 

  • ความสำคัญของกระบวนการ Design Thinking ในการพัฒนานวัตกรรมในการทำงานและเชิงพาณิชย์
  • การสร้าง Creative Confidence
  • Easy Innovation Model
  • Innovation’s Mindset
  • ความเข้าใจ และนิยามคำว่า Innovation
  • กรอบแนวคิดสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม
  • เพราะอะไรถึงต้องทำนวัตกรรม
  • ความแตกต่างระหว่างบุคคลกับกรอบความคิดในการสร้างนวัตกรรม: Innovation’s Mindset
  • แก่นกระบวนการ Design thinking (5 Processes of Design Thinking)
  • Understand by Heart (Empathy Phase) -  Who What & How
  • Understand by Heart (Define Phase)
  • Ideate by Head (Ideate Phase)
  • Ideate by Head (Prototype Phase)
  • Test by Hand (Test Phase)
  • การสร้างโครงการนวัตกรรมทางธุรกิจ และออกแบบโมเดลธุรกิจ

 

ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • มายด์เซ็ทใหม่ในการเรียนรู้และพูดคุย สนทนากัน
  • ทักษะสำคัญในการสนทนา ได้แก่ การตั้งคำถาม การรับฟัง การสะท้อน การสร้างความไว้วางใจ การสีงเกตบรรยากาศ และการดูแลความมั่นคงภายในตัวเอง
  • ทักษะการสนทนาตามแนวทาง CFR
  • ความเข้าใจในกระบวนการสนทนาที่สร้างสรรค์ (Creative Conversation)
  • การประยุกต์การ CFR กับการบริหารผลงาน การสร้างทีมและวัฒนธรรม การเรียนรู้ของทีม การสร้างนวัตกรรม (CFR in Practice)

 

 

 

กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)

โปรแกรมนี้ ถูกแบบเป็นโปรแกรม 2 วัน  ที่เน้นการฝึกฝน 
โดยปกติจะมี Option ในการจัดอบรม เป็น 

Option 1 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์  2 วัน 
Option 2 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน พร้อมติดตามผลจำนวน 1-2 ครั้งละ 0.5 วัน
Option 3 - ออกแบบเป็นโปรแกรมพัฒนาต่อเนื่อง (CLP - Continuous Learning Program)  3 -6 เดือน (ฝึกอบรม + Lab การฝึกต่อเนื่อง เดือนละ 0.5-1 วัน) 3 -6 เดือน (ฝึกอบรม + Lab การฝึกต่อเนื่อง เดือนละ 0.5-1 วัน)

หรือ ถ้า องค์กรของคุณอยากมีข้อจำกัดเรื่องเวลา และทรัพยากรอื่นๆ สามารถออกแบบเป็น 1 วัน ได้
ซึ่งจำเป็นจะต้องลดความเข้มข้น หรือ อาจจะต้องเลือกลดบาง Practice ไปบ้าง แต่เรายังคงเน้นคุณภาพให้ได้มากที่สุด 

 

ติดต่อขอรับคำปรึกษา เพื่อออกแบบ หรือวางแผนการจัดเวิร์คช็อป /หลักสูตร

Click >>  https://www.excellentpeople-th.com/contact-us

 

สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya

 

Visitors: 159,851