FEEDBACK FOR GROWTH - ศิลปะการฟีดแบ็ก เพื่อสร้างการเติบโต

โปรแกรมที่มุ่งเน้นการบ่มเพาะความเข้าใจเชิงลึกในแก่นที่สำคัญของการให้และรับ Feedback อย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างพลังบวกสู่การเปลี่ยนแปลง ด้วยเครื่องมือและหลักปฏิบัติที่ผสมผสานองค์ความรู้สำคัญ อาทิ Radical Candor , Positive Psychology Coaching , Non Violent Communication เข้าด้วยกัน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถกลับไปให้ Feedback ในการนำทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเกิดผล สร้างพลังบวก สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจกับผู้รับ Feedback ได้ดีขึ้น

 

ส่วนที่ 1 – สิ่งที่เราจะฝึกฝนกันในประสบการณ์ 3 วัน เราทำอะไรบ้าง

โปรแกรมนี้จะฝึกฝนทั้งหมด 3 วัน แบบเจอตัว และติดตามผลทาง Zoom อีก 1 ครั้ง

โดยการฝึกฝนทั้ง 3 วัน แบ่งเป็น

 

วันที่ 1 : Experiential Learning สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตร Original

เป็นการสัมผัสประสบการณ์จริงของคลาส Feedback for Growth ในฉบับ 1 วัน โดยจะเรียนไป ถอดบทเรียน ไปในแต่ละช่วง เพื่อให้สัมผัสประสบการณ์ทั้งในมุมของการเป็นผู้เข้าร่วม และได้เข้าใจรายละเอียดในมุมของการทำหน้าที่ Facilitator

 

เบรค 1 : Feedback for Growth and Incubating Feedback Mindset  

เบรกแรกจะปูความเข้าใจ ความสำคัญของการฟีดแบ็ก ทั้งการให้และรับ ตามแนวคิดขององค์กรจัดการตนเอง (Self-Organization) หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้  พร้อมกับเน้นการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่ชวนให้ผู้เรียนได้เชื่อมต่อประสบการณ์ตัวเองกับการรับฟีดแบ็ก ผ่านกิจกรรม ให้พวกเขาได้ค่อยๆ เห็นว่าการฟีดแบ็กมีผลทางบวกอย่างไร

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • ฟีดแบ็กที่ทำให้เราเติบโต
  • ผู้นำที่สร้างฉัน

 

เบรค 2 : Self-Feedback

ในกระบวนการให้และรับฟีดแบ็ก เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะให้ความสำคัญกับการฟีดแบ็กและทบทวนตัวเองก่อน ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงเป้าหมายที่สำคัญกับตัวเอง การมีผลกระทบต่อสิ่งๆต่างๆ และการได้เห็น สังเกตสิ่งต่างๆ ที่ได้ทำอย่างชัดเจน ให้เรารู้สึกว่าเราเป็นเจ้าของมันจริงๆ เบรกนี้นจะฝึกเข้มข้นกับ Self-Feedback Process

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • Self-Feedback by I-O-I-O Concept (Intention – Observation – Impact – Option)
  • เด็ดดอกไม้สะเทือนดอกดาว Group System Relation

 

เบรค 3 : Feedback Practice

เรียนรู้จุดสำคัญในกระบวนการของการฟีดแบ็ก เช่น การรับฟังและ Reflection , Right Mindset ของการให้และรับฟีดแบ็ก  และทักษะในการถามเพื่อขอฟีดแบ็กเพิ่มเติม จากผู้รับฟีดแบ็ก ซึ่งเป็น practice ที่สำคัญของ Feedback for Growth

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • Asking for Seek Opportunity to Growth
  • Feedback Space

 

เบรค 4 : Feedback Culture

เรียนรู้กรณีศึกษาของการสร้าง Feedback Culture และการนำ Feedback มาปรับใช้ในพัฒนาตัวเอง / ทีม และองค์กร ที่เป็นกิจวัตรวิถี

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • Co-create a feedback culture  

 

 

วันที่ 2 และ 3 : Facilitation Lab  

ทดลองการปฏิบัติจริงในการนำกระบวนการเรียนรู้ โดย จะแบ่งเป็น 3 ช่วง

ช่วงที่ 1 – Facilitation Technique (2 ชม.)  เรียนรู้ และติวอย่างเข้มข้น ถึงศิลปะการนำกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างการมีส่วนร่วม และการออกแบบประสบการณ์ 

ช่วงที่ 2 – Facilitation Design ( 1 ชั่วโมง)  ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประยุกต์สิ่งที่สนใจเข้ากับงานจริง โดยจะให้แต่ละองค์กรได้ลองนำกระบวนการเรียนรู้ องค์กรละ 1 เบรก

ช่วงที่ 3 – Facilitation Playwork (1.5 วัน) ให้แต่ละองค์กรนำกระบวนการจริง โดยมีให้เพื่อนสมาชิกและทีมพี่เลี้ยง เข้าร่วม ทีมละ 1.5 ชั่วโมง พร้อมรับคำแนะนำ และฟีดแบ็กเพิ่มเติม

 

หลังจบกิจกรรม 3 วัน เราจะมีการติดตามผลอีก 1 ครั้ง (ทุกคนสามารถสอบถาม ปรึกษา ทีมพี่เลี้ยงได้เป็นระยะ) ผ่านทาง Zoom Meeting โดยจะกลับมาเจอกันหลังเว้นไป 1 เดือน  


 

ส่วนที่ 2 –โครงสร้างของหลักสูตรที่เราฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ในการสอน หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กร (Course Outline)

 

“ Feedback ที่ดีเป็นดั่งการมอบ....ของขวัญ....ที่ช่วยสร้างพลังบวก ในการก้าวเดินต่อ

และยังช่วยสานสัมพันธ์ ให้ความวางใจต่อกันแนบแน่นยิ่งขึ้น ”

 

หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

การให้ฟีดแบ็ค (Giving Feedback) ถือเป็นทักษะและวิถีการทำงานร่วมกันที่สำคัญ ทั้งกับหัวหน้างาน (ผู้นำหน่วยงาน) และสมาชิกในทีมทุกคน  ด้วยโลกที่มีการเปลเี่ยนแปลงและแข่งขันสูง  การที่เราอยู่รอดและเติบโตไปด้วยกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการร่วมกันสังเกต ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งกับตัวเรา  ทีม และสิ่งรอบตัว เพื่อให้เราได้ข้อมูลเพียงพอที่จะคิด และลงมือทำ ปรับตัวให้ทันหรือสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ    เราต้องช่วยให้สมาชิกในทีมได้ตระหนักรู้และมองเห็นตนเองชัดขึ้น ทั้งความรู้สึก ความต้องการ จุดแข็ง สิ่งที่ทำได้ดี และโอกาสพัฒนาปรับปรุงตน การให้ฟีดแบ็คที่ดีเปรียบได้กับกระจกที่ใสพอ ที่จะช่วยให้เห็นตนเองที่ชัด ยอมรับและเกิดแรงกระตุ้นในเชิงบวกที่จะพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น   แต่ในความเป็นจริง การให้ฟีดแบ็คที่สร้างสรรค์กลับเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก ดังปัญหาที่องค์กรมักประสบในการสร้างวัฒนธรรมการฟีดแบ็ค มีดังนี้

  • หัวหน้างานและสมาชิกในทีมไม่กล้าให้ Feedback อย่างตรงไปตรงมา เพราะกลัวเสียความสัมพันธ์
  • ฟีดแบ็คแบบสื่อสารทางเดียว ไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับได้แสดงความคิดเห็น บอกสิ่งที่มองเห็นตัวเอ
  • ไม่มีการสื่อสารให้ฟีดแบ็คแบบมีชีวิต หัวหน้าหรือสมาชิก Comment เป็นข้อความ แบบฟอร์มส่งมาเท่านั้น ไม่มีการพูดคุยกันจริง
  • ขาดทักษะการฟีดแบ็ค (ทั้งการให้และรับ) มักจะพูดตามความเห็นของตน และใช้อารมณ์ หรืออำนาจบีบบังคับให้ยอมรับ
  • ขาดความต่อเนื่อง ความถี่ในการทำ บ้างก็คุยกันครึ่งปีครั้ง หรือปีละครั้งเท่านั้น
  • เป็นการทำเป็นพิธีแก้บน ทำให้ผ่านๆ เสร็จตามขั้นตอนตามระบบ ไม่สนใจผลลัพธ์ของการพูดคุย
  • ยิ่งคุยยิ่งขัดแย้ง เป็นไปในทางลบ อีกฝ่ายไม่เปิดใจยอมรับ ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในทีม
 

การให้และรับฟีดแบ็ค (Feedback) เป็นศิลปะที่ผู้นำยุคใหม่และพนักงานในทีมต้องได้รับการฝึกฝน เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด รวมถึงการสร้างทีมงาน และวัฒนธรรมในการให้ Feedback ในองค์กร (Feedback Culture) ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง  การให้ Feedback ที่สร้างพลัง เป็นเสมือนการ “ให้ของขวัญ” (Positive Feedback) หรือ ให้พร ได้รับแล้วจะมีความหวัง หรือได้รับเชื้อเพลิงในการเดินทางต่อ  ดังนั้นจึงต้องอาศัยการฝึกฝนที่เข้มข้น ไม่เช่นนั้นการให้ฟีดแบ็คจะกลายเป็นการ “ให้ร้าย” (Negative Feedback) ที่ทำให้ห่อเหี่ยว และขาดแรงใจใน

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการบ่มเพาะความเข้าใจเชิงลึกในแก่นที่สำคัญของการให้และรับฟีดแบ็ค โดยจะฝึกฝนการให้และรับ Feedback อย่างลุ่มลึกและสร้างพลังบวกสู่การเปลี่ยนแปลง ด้วยเครื่องมือและหลักปฏิบัติที่ผสมผสานองค์ความรู้สำคัญ อาทิ Radical Candor , Positive Psychology Coaching , Non Violent Communication เข้าด้วยกัน  ที่จะช่วยให้ผู้นำสามารถกลับไปให้ Feedback  ในการนำทีมได้อย่างเกิดผล สร้างพลังบวก สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจกับผู้รับ Feedback ได้ดีขึ้น

 

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

โปรแกรมหลักสูตร Feedback for Growth - The art of giving and receiving feedback for growth เราใช้แกนความรู้สำคัญ 3 ส่วน ในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ได้แก่ 1) Right Mindset for Feedback มายด์เซ็ทสำคัญของการให้และรับฟีดแบ็ก  2) I-O-I-O Model (Intention-Observation-Impact-Option) รหัสสำคัญในทบทวนและฟีดแบ็กตัวเองและผู้อื่น  3) กระบวนการให้และรับฟีดแบ็ก ตามแนวทางของทีมจัดการตัวเอง (Feedback Process for Self-Organization)  ซึ่งทั้งสามเรื่อง ถือเป็นหัวใจที่จะช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนตระหนักและที่ทักษะ ความเข้าใจที่จะทำงานกับฟีดแบ็กอย่างสร้างสรรค์ 

 

 

วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
  1. ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญของกระบวนการ Feedbacks โดยเห็นว่ากระบวนการนี้คือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาทีมและขับเคลื่อนผลงาน
  2. ผู้เรียนเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ ที่จะนำไปสู่การฟีดแบ็คอย่างสร้างสรรค์ ทั้งจิตวิทยาเพื่อความเข้าใจมนุษย์ ปัจจัยที่จะทำให้คนเปิดใจ ทักษะในการสังเกต ตลอดจนศิลปะในการพูดความจริงโดยไม่เสียความสัมพันธ์
  3. ผู้เรียนสามารถให้และรับฟีดแบ็คได้จริง โดยใช้ทักษะใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้
  4. เห็นแนวทาง และสามารถออกแบบกิจกรรมที่จะส่งเสริมวัฒนธรรรมการฟีดแบ็ค (Feedbacks Culture) ให้เกิดขึ้นจริงในทีมหรือองค์กรได้

 

ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

การให้ฟีดแบ็ก เป็นเรื่อง Sensitive สำหรับผู้ให้ และผู้รับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดของการฝึกฝน ในโปรแกรมนี้ เราจะเตรียมความพร้อมให้ทุกคนทั้งการปรับสภาวะและ Mindset ในการให้และรับ Feedback  ก่อนที่ทุกคนจะได้ลองฝึกจริง ในการฟีดแบ็กตัวเอง และการให้ฟีดแบ็ก ระหว่างกัน ซึ่งเราได้นำโจทย์จริงให้เขาได้ลองฝึกฝนกันจริงๆ ร่วมกัน รวมถึงการต่อยอดไปใช้สร้างวัฒนธรรมในองค์กร

  • ความสำคัญของการให้ Feedback กับการบริหารผลงานสู่ผลลัพธ์ชั้นเลิศ  (Beyond Performance by Feedback)
  • ทัศนคติที่ถูกต้องในการเป็นผู้ให้และผู้รับ Feedback (Right Mindset)
  • เรียนรู้ความต่าง และศักยภาพเชิงลึกของทีมงาน ผ่านหลักการผู้นำสี่ทิศ
  • Radical Candor หัวใจสำคัญของการให้ Feedback เพื่อการพัฒนา 
  • การประเมินความสัมพันธ์และระดับความไว้วางใจ ก่อนการให้ Feedback (Degree of Trust)
  • ขั้นตอนสำคัญในการให้และรับ Feedback เพื่อการพัฒนา (Step of Giving Feedback)
  • หลักสำคัญของการฟีดแบ็กด้วย I-Massage และ I-O-I-O (Intention - Observation - Impact - Option)
  • การสะท้อนใคร่ครวญ ฟีดแบ็คตนเองด้วยกระบวนการ Self Reflection
  • ศิลปะในการพูดถึงเหตุการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้น ที่ทำให้ผู้รับ Feedback เปิดใจ (Giving Observation and Evident)
  • การเช็คความเข้าใจ และความสัมพันธ์หลังการให้ Feedback (Connection Request)
  • การสร้างข้อตกลงร่วมในการติดตามผล หลังการให้ Feedback เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
  • ศิลปะการให้ Feedback เชิงโค้ชชิ่ง เพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา (Coaching for Growth)
  • เทคนิคการทำ Challenge Feedback ที่ยกระดับการพัฒนาความสามารถและผลงานอย่างก้าวกระโดด
  • หลุมพรางของการให้ Feedback ที่ล้มเหลว
  • การสร้างวัฒนธรรมการ Feedback ในองค์กร (Feedback Culture)

 

ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • มายด์เซ็ทใหม่ของการพัฒนาตัวเอง และ การให้ การรับฟีดแบ็ก
  • ทักษะการรับฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และทักษะการทบทวนใคร่ครวญ (Reflection Skills)
  • ทักษะการรับและให้ฟีดแบ็ก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Feedback Skills)
  • ความเข้าใจในกระบวนการของการให้และรับฟีดแบ็ก

 

 

 

 

 

Visitors: 159,856