Mentoring Practice_

 The Art of developing and incubating people 

“ กระบวนการพี่เลี้ยง คือการบ่มเพาะศักยภาพและความพร้อมของสมาชิกใหม่ และเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างทีม สร้างวัฒนธรรมที่แข็งแรง”

หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

“พี่เลี้ยงข้างเวที” นี่เป็นคำเรียกแทนบทบาทของ หัวหน้าทีมกับการพัฒนาคนในทีม   ในภาพเดิมเราจะคาดหวังให้หัวหน้าทีม หรือ Supervisor เป็น “ครู ผู้สอนงาน” (Instructor)  ซึ่งโดยมากหัวหน้าทีมที่ได้รับการโปรโมท จะมาจากคนที่เก่งงาน ความคาดหวังขององค์กรจึงอยากเห็นสมาชิกหรือพนักงานทำงานได้เก่งเหมือนหัวหน้าทีม  โดยการสอนงานก็ยังมีความจำเป็นอยู่ ที่จะช่วยให้สมาชิกมีทักษะความชำนาญที่จะทำงานในหน้าที่ของเขาให้สำเร็จ เกิดผลงาน

แต่สิ่งที่พบมากขึ้นก็คือ หลายคนสามารถทำงานได้ แต่ขาดมุมมอง วิธีการคิด ดูแลกับปัญหาหรือเหตุการณ์ที่มีความท้าทายทั้งในงาน และชีวิต ซึ่งไม่อาจจะใช้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ของหัวหน้าทีมมาแนะนำ สอนได้อย่างเดียว พวกเขาจำเป็นจะต้องได้รับการชวนให้คิด ให้มอง ให้เรียนรู้ไปในมุมที่ต่างออกไป ให้ค่อยๆ มองเห็นโอกาส เห็นข้อจำกัด และความต้องการที่ชัดและกว้างไปแค่การทำงานตามกรอบ  บทบาทของ ความเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของหัวหน้าทีม ที่จะช่วยทำหน้าที่เหมือน

•แมวมอง ที่ช่วยมองและสะท้อนศักยภาพ จุดแข็งของสมาชิกแต่ละคน ให้พวกเขาเห็นตัวเอง
•เพื่อนชวนคิด ที่ช่วยตั้งคำถาม ให้สมาชิกได้ลองคิด ลองสำรวจ มองปัญหา มองโอกาส สร้างเป้าหมายและทางเลือกในการทำงานหรือใช้ชีวิตที่หลากหลาย
•ป๋าดัน/เจ๊ดัน ที่ช่วยคอยเชียร์ คอยสนับสนุน สร้างเวที ให้พวกเขาได้ลองแสดงผลงาน
•ครูแนะแนว ที่คอยให้ทางเลือก แบ่งปันเรื่องเล่า ประสบการณ์ที่ทำให้เขาได้เรียนรู้ ได้เกิดแรงบันดาลใจและไอเดียใหม่ๆ
 

ผู้นำแบบพี่เลี้ยงข้างเวที จะสังเกตความเป็นไปและพัฒนาการของทีมอยู่เสมอ พวกเขาจะไม่แค่ช่วยให้ทีมทำงานได้ แต่ช่วยหาทางในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้ทุกคนค่อยๆ เรียนรู้และเติบโต ไปพร้อมกับการสร้างงานไห้สำเร็จ

หลักสูตร MENTORING PRACTICES – The Art of Developing People  “ศิลปะการพัฒนาคนด้วยกระบวนการพี่เลี้ยง”  เป็นการเติมเต็มบทบาทของหัวหน้าทีมกับการ “สร้างคน” ซึ่งได้นำแนวปฏิบัติของการเป็นพี่เลี้ยงทั้งทักษะและกระบวนการของพัฒนาคน ที่อยู่ในวิถีชีวิตของการทำงานของหัวหน้าทีม (Supervisor) มาเรียนรู้ฝึกฝนกันจริงๆ เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนสามารถประยุกต์ไปใช้งานจริงกับการนำทีม การดูแลและพัฒนาลูกทีมของตน ให้สามารถดูแลจัดการตนเอง ทั้งในด้านการงาน และชีวิต ได้อย่างสมดุล (Work & Life Balance)   นอกจากนี้  หลักสูตรนี้ยังจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างหัวหน้าทีม กับลูกทีม ให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากยิ่งขึ้นด้วย จากการช่วยเหลือดูแลกัน

 

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

หัวใจของการฝึกฝนพี่เลี้ยง เราจะเน้นดำเนินประสบการณ์ตามหลักการบ่มเพาะวิวัฒนาการ หรือการพัฒนาคนเชิงวัฒนธรรม ด้วย 4 Step ในการสร้างวิวัฒนาการของทีม  (4 Step of Self-Evolution) โดยจะให้พี่เลี้ยงได้คอย  1) ช่วยสะท้อนหรือสร้างบทสนทนาที่ทำให้สมาชิกใหม่ได้ค่อยๆ รู้จักตัวเอง ได้นำความเป็นตัวเองมาใช้ร่วมกับงาน และรู้สึกมั่นใจขึ้นเรื่อย (Step 1 - Connect with self)   2) ช่วยให้สมาชิกใหม่ได้ค่อยๆ รู้จักเพื่อนใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ และสามารถเชื่อมโยง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยน ถาม ในการทำงานและสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับทีมและเพื่อนร่วมงาน (Step 2 - Connect with Other)  3) ช่วยให้สมาชิกใหม่ได้ค่อยๆ เข้าใจ เห็นความสำคัญของงาน และได้เชื่อมโยงคุณค่า ความสำคัญของงานกับความตั้งใจของตัวเอง (Step3 - Connect with Inspiration) และสุดท้าย 4)  คือการช่วยสร้างบทสทนาที่ทำให้สมาชิกใหม่ได้ทบทวน เรียนรู้ สังเกตตัวเองบ่อยๆ พร้อมกับชวนคิด ชวนมองหาโอกาสเพื่อไปต่อ (Step 4 - Connect with The Emerging World)    

 
วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
  • บ่มเพาะ Mindset และทักษะสำคัญในการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) ให้กับผู้เรียน เพื่อใช้ในการดูแลและพัฒนาทีมงานให้เติบโต มีความสามารถมากขึ้น สามารถสร้างผลงานและคุณค่าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงดูแลจัดการชีวิตของตัวเองในองค์รวมได้อย่างมั่นคง
  • สร้างความเข้าใจในการสร้างกระบวนการและบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาให้เกิดขึ้นกับสมาชิกแต่ละคนของทีม และการเรียนรู้ร่วมกันที่ช่วยทำให้ทีมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  (Learning and Growth Processes and Context)
  • วางรากฐานของการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning & Growth Culture) วิถีการสร้างทีมงานและผลงาน ที่นำพาองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

หลักสูตรนี้จะเน้น 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่  1) เน้นการสร้างความเข้าใจ Mindset สำคัญของการเป็นผู้นำในบทบาทพี่เลี้ยง และฝึกฝนทักษะสำคัญของการพัฒนาคนในแนวทางของพี่เลี้ยง 2) ฝึกทักษะที่สำคัญในการดูแล สร้างความสัมพันธ์กับสมาชิก เช่น ทักษะการฟัง การตั้งคำถาม การสะท้อน เป็นต้น  3)  เน้นการฝึกฝนแนวปฏิบัติการพัฒนาคน ตาม 4 Step of Mentoring  ในโจทย์ที่นำไปใช้จริงในองค์กร ให้ที่ช่วยเพิ่มผลงาน การเรียนรู้พัฒนาทีม และการสร้างความสัมพันธ์ของทีม  และ 4)การนำกระบวนการ Mentoring ไปติดตั้ง สร้างเป็นวัฒนธรรม หรือ วิถีการบริหารงานของหัวหน้าทีม ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

 

Part 1 : Principles and Mindset of Mentor (หลักคิดและมายด์เซ็ทสำคัญของพี่เลี้ยง)

  • แนวคิดของ “องค์กร/ทีมจัดการตัวเอง” (Self-Management Team)  “ความสำคัญและความหมายของการของพัฒนาคน”
  • บทบาทของผู้นำกับการเป็น”พี่เลี้ยง”  (Leader as a Mentor)
  • “หัวใจของการพัฒนาและสิ่งที่พี่เลี้ยงเชื่อ”  Mindset ของผู้นำนักพัฒนา
  • ธรรมชาติการเรียนรู้และเติบโตของมนุษย์ “มนุษย์เรียนรู้ได้ดี แบบไหน” (Nature of Human Learning)
  • Empowerment Ladder กับ การเป็นพี่เลี้ยงและพัฒนาทีมให้เติบโต ตามระดับพัฒนาการ
  • “4 Step of Mentoring“ แนวปฏิบัติสำคัญ 4 ขั้น ของการพัฒนาคนด้วยกระบวนการพี่เลี้ยง

 

Part 2 : The Essential Skills of Mentor (ทักษะสำคัญ ของการเป็นพี่เลี้ยง)

  • การสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจและสร้างความไว้วางใจ (Build Trust & Connectivity)
  • ทักษะการฟังเชิงลึกกับ 4-4-4 Code (Deep Listening)
  • ศิลปะในการสะท้อนเพื่อสร้างการสนทนาที่เน้นความมีส่วนร่วม (Reflection Skills)
  • การเข้าใจคนเชิงลึกเพื่อหลอมรวมความหลากหลายสู่ความร่วมมือ (From Diversity to Collaboration)
  • เทคนิคการตั้งคำถามและการให้ทางเลือก ที่ช่วยสร้างพลังของการสร้างสรรค์และการเรียนรู้ (Powerful Question and Creative Advise)
  • การสร้าง Grow Conversation หรือการเช็คอินรายบุคคล ด้วยกระบวนการปรึกษาหารือ (Advise Process  )
  • ศิลปะการให้ฟีดแบ็กและการชื่นชม ที่ช่วยสร้างการเติบโต (Deliver and Accept Feedback & Recognition for Growth)

 

Part 3 : Mentoring in Practices (แนวปฏิบัติเพื่อนำทักษะการเป็นพี่เลี้ยงไปใช้จริงในพื้นที่การทำงาน)

  • การนำกระบวนการพี่เลี้ยง และ Check-in กับสมาชิกในทีมแบบรายบุคคล ไปใช้จริงในการพัฒนาทีมงาน ในองค์กร ได้แก่ 1) การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน หรือ สร้างสรรค์งานใหม่ๆ / โครงการ , 2) การขับเคลื่อนและพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง ในการพูดคุยแบบกลุ่มและเดี่ยว  และ 3)การให้คำปรึกษาปัญหาชีวิตส่วนตัว หรือ ปัญหาความสัมพันธ์ในการทำงาน
  • ตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเป็นพี่เลี้ยง ในที่ทำงาน เช่น Mentee Profile , Mentoring Note ฯลฯ
  • เคส/กรณีศึกษาขององค์กรที่โค้ชชิ่งไปใช้จริงในการสร้างวัฒนธรรม Coaching และการสร้างทีมจัดการตัวเอง เช่น Buurtzorg , Sowon & Teenth Talk เป็นต้น

 

ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • มายด์เซ็ทและพลังงานของของความเป็น Mentor (Mentor Mind)
  • พลังงานและ Being ของการเป็นพี่เลี้ยง (Mentor Being and Energy)
  • ทักษะในการสร้างความไว้วางใจและการเชื่อมต่อ (Build Trust and Rapport)
  • ความเข้าใจในกระบวนเรียนรู้ของคนและการข้ามผ่านจุดที่ติดล็อก (Learning Processes for Human)
  • การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness)
  • จิตวิทยาในการเข้าคนเชิงลึก (Psychology of Selves)
  • ทักษะการฟังเชิงลึก (Deep Listening) และ Reflection
  • การสร้างพื้นที่ความปลอดภัย และการดูแลบรรยากาศ
  • การตั้งคำถาม  (Art of Asking)
  • การเชิญชวน (Invitation)
  • ทักษะการนำพูดคุยเพื่อการเติบโตและเปลี่ยนแปลง (Creating Grow Conversation)
  • ทักษะการให้/รับฟีดแบ็กและคำชื่นชม (Deliver and Accept Feedback and Recognition for Growth)

 

 

 

 

กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)

โปรแกรมนี้ ถูกแบบเป็นโปรแกรม 2 วัน  ที่เน้นการฝึกฝน 
โดยปกติจะมี Option ในการจัดอบรม เป็น 

Option 1 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์  2 วัน 
Option 2 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน พร้อมติดตามผลจำนวน 1-2 ครั้งละ 0.5 วัน
Option 3 - ออกแบบเป็นโปรแกรมพัฒนาต่อเนื่อง (CLP - Continuous Learning Program)  3 -6 เดือน (ฝึกอบรม + Lab การฝึกต่อเนื่อง เดือนละ 0.5-1 วัน) 3 -6 เดือน (ฝึกอบรม + Lab การฝึกต่อเนื่อง เดือนละ 0.5-1 วัน)



 

ติดต่อขอรับคำปรึกษา เพื่อออกแบบ หรือวางแผนการจัดเวิร์คช็อป /หลักสูตร

Click >>  https://www.excellentpeople-th.com/contact-us

 

สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya

Visitors: 159,857